วิสัยทัศน์ (Vision) องค์กรแห่งการพัฒนา ชาวประชาร่วมใจ โปร่งใสในการบริหาร บริการทุกภาคส่วน
คำขวัญ (Slogan) เชิดชูวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง เคียงข้างสถาบัน สานพลังพัฒนาสำราญราษฎร์
คำแถลงนโยบายของนายกเทศมนตรีตำบลสำราญราษฎร์ที่แถลงต่อสภา
๑. ด้านสาธารณสุข พัฒนาสังคม
ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. และจิตอาสาพัฒนาแนวทางการจัดสวัสดิการ การให้บริการแก่เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ สตรี ผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน ตลอดจนผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ให้สะดวก รวดเร็ว เสมอภาค และทั่วถึง พัฒนาส่งเสริมการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคระบาด เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
๒. ด้านการศึกษา และกีฬา
ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในระบบและนอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัยให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกันและทั่วถึง สนับสนุนกีฬาทุกประเภท ส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายทุกช่วงวัย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนากีฬาของท้องถิ่น ฟื้นฟูการแข่งขันกีฬาประเพณีเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน
๓. ด้านเศรษฐกิจ
ส่งเสริมและสนับสนุนทุกครัวเรือนให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ จัดหาตลาดจำหน่ายและส่งเสริมสินค้าในชุมชน รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชผักสวนครัว
รั้วกินได้ เพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าใช่จ่ายในครัวเรือน
๔. การบริหารจัดการ
ปรับปรุงองค์กรและพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้บริการประชาชนทุกคนดุจญาติมิตร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
๕. โครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค
พัฒนาตามความต้องการของประชาชน โดยยึดแผนการดำเนินงานภายใต้งบประมาณของเทศบาลประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านในตำบล ดำเนินการขยายงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนเพื่อการเกษตร ไฟฟ้า พัฒนาระบบน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค รวมถึงด้านการเกษตรให้อย่างทั่วถึง เสริมแผนการพัฒนา การก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง การคมนาคม อาคาร รวมถึงการบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง
๖. ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
สนับสนุน ส่งเสริมกิจการทางด้านศาสนา ฟื้นฟู อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีอันดีงาม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้านอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
๗. ด้านการเกษตร
ส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ชุมชนดั้งเดิมยังเป็นเกษตรกรรม สนับสนุนการเกษตรอินทรีย์ พัฒนาองค์ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษอย่างเป็นระบบ ปรับปรุงแก้ไขเหมืองฝายอย่างเป็นระบบ
๘. ด้านบรรเทาสาธารณภัย
จัดให้มี ๑ ตำบล ๑ ทีมกู้ภัยที่มีประสิทธิภาพและพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ส่งเสริมสนับสนุนการแก้ปัญหาน้ำท่วมหรือภัยแล้งแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชรบ. อปพร. ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย
๙. ด้านสังคม
จัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนอยู่อย่างพอเพียง มีความเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนรู้ที่ต้องอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สามารถพัฒนาเป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป มีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล (วันละบาท) และมีสภาองค์กรชุมชนตำบลในการขับเคลื่อน
๑๐. ด้านยาเสพติด/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่สำคัญและล่อแหลม ร่วมกับฝ่ายปกครองในการดูแลความสงบเรียบร้อยและบริการสาธารณะ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาเทศบาลตำบลสำราญราษฎร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนากรท่องเที่ยว และการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของนายกเทศมนตรีกับแผนพัฒนาเทศบาลตำบลสำราญราษฎร์
นโยบายของนายกเทศมนตรีที่แถลงต่อสภาเทศบาลตำบลสำราญราษฎร์ | ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนา
เทศบาลตำบลสำราญราษฎร์ |
1. ด้านสาธารณสุข พัฒนาสังคม
ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. และจิตอาสา พัฒนาแนวทางการจัดสวัสดิการ การให้บริการแก่เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ สตรี ผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน ตลอดจน ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ให้สะดวก รวดเร็ว เสมอภาค และทั่วถึง พัฒนาส่งเสริมการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคระบาด เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข
|
๒. ด้านการศึกษา และกีฬา
ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในระบบและนอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัยให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกันและทั่วถึง สนับสนุนกีฬาทุกประเภท ส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายทุกช่วงวัย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนากีฬาของท้องถิ่น ฟื้นฟูการแข่งขันกีฬาประเพณีเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
|
๓. ด้านเศรษฐกิจ
ส่งเสริมและสนับสนุนทุกครัวเรือนให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้จัดหาตลาดจำหน่ายและส่งเสริมสินค้าในชุมชน รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าใช่จ่ายในครัวเรือน |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนากรท่องเที่ยว และการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม |
๔. การบริหารจัดการ
ปรับปรุงองค์กรและพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้บริการประชาชนทุกคนดุจญาติมิตร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี |
5. โครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค
พัฒนาตามความต้องการของประชาชน โดยยึดแผนการดำเนินงานภายใต้งบประมาณของเทศบาลประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านในตำบล ดำเนินการขยายงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนเพื่อการเกษตร ไฟฟ้า พัฒนาระบบน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค รวมถึงด้านการเกษตรให้อย่างทั่วถึง เสริมแผนการพัฒนา การก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง การคมนาคม อาคาร รวมถึงการบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง
|
6. ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
สนับสนุน ส่งเสริมกิจการทางด้านศาสนา ฟื้นฟู อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีอันดีงาม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้านอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
|
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
7. ด้านการเกษตร
ส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ชุมชนดั้งเดิมยังเป็นเกษตรกรรม สนับสนุนการเกษตรอินทรีย์ พัฒนาองค์ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษอย่างเป็นระบบ ปรับปรุงแก้ไขเหมืองฝายอย่างเป็นระบบ |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนากรท่องเที่ยว และการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง
|
8. ด้านบรรเทาสาธารณภัย
จัดให้มี ๑ ตำบล ๑ ทีมกู้ภัยที่มีประสิทธิภาพและพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ส่งเสริมสนับสนุนการแก้ปัญหาน้ำท่วมหรือภัยแล้งแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชรบ. อปพร. ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข
|
9. ด้านสังคม
จัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนอยู่อย่างพอเพียง มีความเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนรู้ที่ต้องอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สามารถพัฒนาเป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป มีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล (วันละบาท) และมีสภาองค์กรชุมชนตำบลในการขับเคลื่อน |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
|
10. ด้านยาเสพติด/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่สำคัญและล่อแหลม ร่วมกับฝ่ายปกครองในการดูแลความสงบเรียบร้อยและบริการสาธารณะ |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง
|