ผักแปม

ผักแปม

ชื่อวิทยาศาสตร์            Acanthopanax trifoliatus Merr.

ชื่อสามัญ                   –

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูงประมาณ 1 – 2 เมตร กิ่งก้านอ่อนมีสีเขียว มีหนามกระจายอยู่ทุกส่วนของลำต้น

ใบ มีลักษณะยาวรี รูปไข่ ขอบใบมีลักษณะหยักคล้ายกับฟันเลื่อย ปลายใบแหลม มีเส้นใบเห็นชัดทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ ก้านใบยาว 5 – 6 เซ็นติเมตร แต่ละก้านใบมีใบย่อยแยกออกเป็น 5 ใบ ใบที่อยู่ตรงกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ขนาดของใบกว้างประมาณ 2 – 3 เซ็นติเมตร ยาว 4 – 7 เซ็นติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 2 – 7 เซ็นติเมตร ดอกมีจำนวนมากติดเป็นกระจุกที่ปลายก้าน มีกลีบดอก 5 กลับ

ผล มีลักษณะแบนมีขนาดกว้างและยาวประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร

ผักแปม จัดเป็นผักพื้นบ้านของประเทศไทย ขึ้นเจริญอยู่ทางภาคเหนือของประเทศและทางภาคอิสานที่อยู่ติดกับภาคเหนือ ประชาชนนิยมปลูกตามริมบ่อน้ำ หนอง สระน้ำ ลำธารที่มีน้ำไหลและมีแสงแดดส่องทั่วถึงแปลงที่ปลูก

สรรพคุณ/ประโยชน์ทางยา

ใช้ใบอ่อนและยอดของผักแปมรับประทาน บำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย รักษาเลือดคั่งในแผลฟกช้ำ รากและเปลือกลำต้นใช้บำรุงร่างกาย รักษาเบาหวาน ฤทิ์ของผักแปมซึ่งจัดเป็นสมุนไพรไทยนั้น ตามตำราแพทย์แผนไทยที่ใกล้เคียงกับ การปรับสมดุล และต้านการออกซิเดชั่นได้แก่ ถอนพิษ ฟอกโลหิต บำรุงตับ บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ และเป็นยาอายุวัฒนะ

 

– จักรภัทร เขียวดี นักวิเคราะห์นโยบายและแผน –

แชร์เลย :