เชียงดา

เชียงดา

ชื่อวิทยาศาสตร์           Gymnema inodorum (Lour.) Decnr.

ชื่อสามัญ                  Gymnema

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผักเชียงดา จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือ รูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ หรือ เป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร ส่วนดอกผักเชียงดา ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร และผลของผักเชียงดาจะออกเป็นฝักคู่

สรรพคุณ/ประโยชน์ทางยา

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ในการใช้ผักเชียงดาตามตำรายาพื้นบ้าน คือ ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้รับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้ นำใบมาตำให้ละเอียดใช้พอกบนกระหม่อมรักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะได้ ใช้ใบแก่ของผักเชียงดามาเคี้ยวกินสามารถรักษาอาการท้องผูกได้ ใบสดใช้ตำพอกฝี หรือ พอกบริเวณที่เป็นเริม งูสวัดแก้ปวดแสบ ปวดร้อน ส่วนรูปแบบและขนากการใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันระบุว่า การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ 400-600 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 8-12 กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง 4 กรัม วันละ 2-3 ครั้งก่อนอาหาร ให้ผลในการควบคุมและรักษาโรคเบาหวานได้ดี ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแคปซูลผักเชียงดา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 หรือ 1 แคปซูลใหญ่จะต้องมีผงยาของเชียงดาอยู่ 500 มิลลิกรัม

 

– จักรภัทร เขียวดี นักวิเคราะห์นโยบายและแผน –

แชร์เลย :